วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2562

wednesday,september 16,2019 

Diary7 
⇢⇢⇢The knowledge gained💧


เรียนรวม และนำเสนอนวัตกรรมการศึกษาที่ได้รับมอบหมายเป็นงานกลุ่มเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

กลุ่มที่1


นำเสนอ นวัตกรรมแบบไฮสโคปไฮสโคป (High Scope)
เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนอง

ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก 
2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง 
3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
ข้อเสนอแนะของอาจารย์  ควรนำเสนอในรูปแบบบทบาทสมมติที่จะทำใหเพื่อนได้เห็นภาพและศึกษาไปกับเราด้วย มีอุปกรณ์ ให้เห็นของจริง

กลุ่มที่2



นำเสนอ นวัตกรรมแบบไฮสโคปไฮสโคป (High Scope)
ได้อธิบายถึงวงล้อแห่งการเรียนรู้  ซึ่งจะประกอบด้วย 5 เรื่องด้วยกัน  คือ  
1.การเรียนรู้แบบ Active learning  
2.เรื่องของการปฏิสัมพันธ์ทางบวก  
3.เรื่องของการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้  
4.การจัดกิจวัตรประจำวัน ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องของการจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และการใช้กระบวนการวางแผน ลงมือปฏิบัติ และทบทวน รวมทั้ง
5.การประเมินพัฒนาการ
“กระบวนการวางแผนปฏิบัติหรือทบทวน ที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า PDR จะสอนกระบวนการคิด และกำกับตัวเองว่า คุณวางแผนว่าคุณจะต้องทำอะไร คุณจะดำเนินการตามที่ตัวเองวางแผนไว้ได้ ที่สำคัญคือตรง Review  ที่ทำให้เด็กได้สะท้อนความคิดของตัวเองว่าพอใจในผลงานที่ตัวเองทำไหม มีปัญหาและอุปสรรคยังไง และแก้ไขได้อย่างไรบ้าง รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กรู้สึกว่า ถ้าต่อไปเขาจะเพิ่มเติมสิ่งที่เขาทำมีคุณภาพมากขึ้นได้อย่างไร"
คำถามจากเพื่อนๆ 
ถ้าเป็นเด็กอนุบาลในชั้นอื่น ๆ จะจัดมุมต่าง ๆ เหมือนกันไหมตอบ ได้อาจจะเพิ่มมุมเกี่ยวกับวิชาต่าง ๆ ที่เน้นในหลัหสูตรของโรงเรียนให้เด็กได้เข้าไปหาความรู้คำถามจากอาจารย์  ถ้าเป็นห้องเรียนใหญ่ มีเด็กเยอะจะจัดการเรียนแบบไฮสโคปจัดอย่างไรตอบ จากที่ได้ดูคลิปของโรงเรียนปลวกแดงสามารถจัดได้ และมีวิธีคืออธิบายให้เด็กเข้าใจ วางแผนทีละคนกับครูคนเดียว ในคลิปดัดแปลงมาใช้ไม้หนีบสีต่างๆแทนกิจกรรมนั้นๆให้เด็กหยิบมาหนีบที่เสื้อของตัวเองเพื่อจะได้รู้ว่าตัวเองทำกิจกรรมอะไรบ้าง เมื่อทำเสร็จก็นำไม้หนีบกลับไปเก็บที่เดิมใน 1 วันให้เด็กทำกิจกรรมอย่างน้อย 2 กิจกรรมข้อเสนอแนะจากอาจารย์ -ทำแผ่นวางแผนให้ครบทั้งหมด 4 กิจกรรม โดยมีกิจกรรมพื้นฐาน 3 และกิจกรรมพิเศษ 1 ควรมีแบบบันทึกของแป้งโดว์ คือวาดรูปที่เด็กปันลงไป
**กิจกรรมฉีก ปะ ถ้าเป็นไปได้ควรให้เด็กวาดรูปเอง ไม่ควรมีแบบให้


กลุ่มที่3 

นำเสนอ นวัตกรรมโปรเจค ผู้คิดคือจอร์น ดิวอี้

บทบาทสมมติ 
ระยะที่1
-ถามเด็กอยากเรียนเรื่องอะไร
-เล่าประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับเรื่องนั้น
-คำถามที่เด็กอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น
-วาดรูปเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กพูด
-ออกแบบวิธีการหาคำตอบ หาคำตอบด้วยวิธีไหนได้บ้าง ครูช่วยเดกหาวิธีการ เพื่อนำไปสู่การออกแบบกิจกรรม
ระยะที่2
-ออกแบบกิจกรรม เช่น ทำคุ้กกิ้ง ไปทัศนศึกษา
ระยะที่3
-ประเมินสารานิทัศน์ สะท้อนเด็ก ผูปกครอง ครู จัดแสดงได้เห็นวิธีการเรียนรู้ต่างๆ

ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ ทำแต่ระยะให้ชัดเจนอย่าขามขั้น 

กลุ่มที่4


นำเสนอ STEM 

การจัดสภาพการณ์ให้เด็กปฐมวัย เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (Active Learning) ซึ่งใช้การบูรณาการสาขาวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีลักษณะการจัดการเรียนรู้ 5 ประการได้แก่ 

   (1) จัดการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการ 
   (2) เชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำ อาชีพ 
   (3) พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 
   (4) จัดกิจกรรมให้ท้าทายความคิดของเด็กปฐมวัย 
   (5) เปิดโอกาสให้ เด็กได้สืบค้น นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหา  เป็นการสร้างประสบการณ์ ผ่านการเล่นและการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม การสืบค้น การรวบข้อมูล และวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ และเด็กต้องการโอกาสนำเสนอผลงานที่ผ่านการคิดที่เหมาะสมกับระดับ พัฒนาการของเด็กปฐมวัย

บทบาทสมมติคือ กิจกรรมเรือบรรทุกสินค้า โดยใช้ดินน้ำมันเป็นเรือ สินค้าคือเหรียญทำยังไงให้เรื่อลอยและเคลื่อนที่ไปส่งสินค้ายังอีกฝั่งได้ โดยมีอุปกรณ์ตือหลอด เพื่อนๆใช้หลอดต่อเป็นแพเพื่อแก้ปัญหา กิจกรมแบบนี้ครูควรอำนวยความสะดวกด้วย

ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ อุปกรณ์แก้ปัญหาควรมีมากกว่า1อย่างเพื่อให้เด็กได้ลองผิดลองถูก

💪Teaching Techniques 💪 
การแก้ปัญหาด้วยการไม่ใช้เพาเวอพ้อยในการนำเสนอ และยังสามารถเห็นภาพได้จริงเพื่อให้เพื่อได้แลกเปลี่ยนเรียนรูที่ได้นำประสบการณ์ที่ได้ไปสังเกตมาเรียนรูร่วมกัน
🙇Apply 🙇 
การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม พยายามคิดและทำงานเป็นทีมแก้ปัญหาร่วมกันให้การนำเสนอออกาดีและไดประโยชน์สูงสุด

Assessment
Self : เตรียมการนำเสนอมาพร้อม เข้าเรียนตรงเวลา
Friend ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม อาสาออกมาเป็นนักเรียนให้เพื่อที่เพื่อนจะได้ทำงานได้ง่าย
Teacher : แนะนำเทคนิคการสอนสอดแทรกเข้าไปในกิจกรรมในชั้นเรียนและเน้นย้ำถึงการนำไปใช้ได้จริง






การสอน กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เคลื่อนไหวตามคำสั่ง หน่วยนม (ชนิดของนม)

💟


Monday,september 9,2019 

Diary6 
⇢⇢⇢The knowledge gained💧

อาจารย์ขอดู ตัวแทนออกมาสอนหน้าชันเรียน ในกิจกรรมเคลื่อนไหมและจังหวะ



นางสาวขนิษฐา สมานมิตร สอน เคลื่อนไหวตามข้อตกลง หน่วยนมเรื่องประโยชน์ของนมโดยกำหนดมุมออกเป็น4มุม  มีมุมชีส มุมโยเกิร์ต มุมเนย และมุมไอศกรีม เด็กได้ในเรื่องของความจำและปฏิบัติตามข้อตกลง

นางสาวอภิชญา โมคมูล สอน เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย หน่วย ยานพาหนะ เรื่องการดูแลรักษาบรรยายเกี่ยวกับการดูแลรักษายานพาหนะต่างๆและให้เด็กปฏิบัติตามจินตนาการของเด็กเอง ได้ความคิดสร้างสรรค์ในท่าทางต่างๆและการดูแลรักษายานพาหนะ

นางสาวชนนิกานต์ วัฒนา สอน เคลื่อนไหวประกอบเพลง
เด็กได้ทำท่าทางประกอบเพลง และความคิดสร้างสรรค์ในท่าทางต่างๆ

นางสาวสุดารัตน์ อาสนามิ สอน เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม หน่วยต้นไม้
ใหเด็กๆออกมาทำท่าต้นไม้ และให้เพื่อนๆทำตาม เด็กได้ความคิดสร้างสรรค์ในท่าทางต่างๆและประกอบกิจกรรมร่วมกับเพื่อน
และหลังจากนั้น มอบหมายงานให้ทุกคนอัดคลิปลงบล็อก
💪Teaching Techniques 💪 
การเคาะจังหวะต่างๆให้เด็กปฏิบัติตามนั้นควรเป็นจังหวะง่ายไปหายาก 
🙇Apply 🙇 
การใชคำพูดต่างๆนำไปใช้สอนในอนาคตได้เพื่อการเข้าใจที่ง่ายและการปฏิบัติต่างๆของเด็ก

Assessment
Self : ร่วมทำกิจกรรมภายในห้อง
Friend ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม อาสาออกมาเป็นนักเรียนให้เพื่อที่เพื่อนจะได้ทำงานได้ง่าย
Teacher : แนะนำเทคนิคการสอนสอดแทรกเข้าไปในกิจกรรมในชั้นเรียนและเน้นย้ำถึงการนำไปใช้ไดจริง

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2562

Monday,september 2,2019 

Diary5 
⇢⇢⇢The knowledge gained💧
อาจารย์ทบทวนความรู้เดิม โดยเพิ่มเติมเนื้อหาว่า การจัดการเรียนการสอนให้เน้นเรื่องใกล้ตัวเด็กเพื่อง่ายต่อการสอนและเด็กจะเรียนรูได้
-เนื้อหาไหนเหมมาะกับอายุเท่าไหร่
-เน้นให้เกิดสมรรถนะ(สภาพที่พึงประสงค์)
-ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ผ่านการตัดสินใจด้วยตนเอง

อาจารย์มอบหมายงานให้เขียนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่ตนเองจะสอนในหน่วยที่ได้รับ

กิจกรรมเคลื่อนไหว=การที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วนให้มีประสิทธิภาพโดยใชประสาทสัมผัสมือกับตา หรือ มือกับขา มี2รูปแบบ อยู่กับที่และเคลื่อนที่ มีวิธีการคือ
-เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
-เคลื่อนไหวตามคำสั่ง
-เคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์
-เคลื่อนไหวแบบผู้นำผูตาม
-เคลื่อนไหวประกอบเพลง

จากนั้นให้ตัวแทนทดลองสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวบางคน


กิจกรรมเคลื่อนไหวตามคำสั่ง โดยใช้มุมห้องเป็นตัวกำหนด


กิจกรรมเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม

ท้ายชั่วโมงอาจารย์มอบหมายงานเป็นการบ้านโดยอัดคลิปสอนในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะลงบล็อกเพื่อเปนตัวอย่างไว้ใช้ในการสอนของตนเองในอนาคต
💪Teaching Techniques 💪 
การอธิบายสัญญานจังหวะต่างๆควรเริ่มจากจังหวะหายใจปกติก่อนจึงอธิบายถึงจังหวะเร็วรัวๆหรือช้า
เพื่อที่เดกจะปฏิบัติแลเข้าใจไดง่าย
🙇Apply 🙇 
นำประสบการณ์และคำแนะนำที่อาจารย์คอยบอกไปปฏิบัติและปรบปรุงแก้ไขในส่วนๆเมื่อได้ออกสังเกตหรือฝึกการสอน

Assessment
Self : ตอบคำถามอาจารย์ได้ ร่วมทำกิจกรรมภายในห้อง
Friend ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม อาสาออกมาเป็นนักเรียนให้เพื่อที่เพื่อนจะได้ทำงานได้ง่าย

Teacher : แนะนำเทคนิคการสอนสอดแทรกเข้าไปในกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในห้องและเป็นเทคนิคที่ดีและนำไปใชได้เสมอ

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562

Monday,August 26,2019 

Diary4 

⇢⇢⇢The knowledge gained💧
ในฐานะที่เราจะไปเป็นครูสิ่งต่างๆเหล่านี้ต้องรู้
การเลือกหัวข้อที่จะสอน
-สิ่งที่เด็กสนใจ
-สิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก
-สิ่งที่มีผลกระทบกับตัวเด็ก
-เหมาะสมกับพัฒนาการ
สาระที่ควรเรียนรู้ 
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
3. เรื่องธรรมชาติรอบตัว
4. สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก 


จากนั้นอาจารย์มอบหมายงานให้สอนหน่วยต่างๆตามสาระที่ควรรู้ที่จับฉลากได้ กลุ่มดิฉันจับได้สาระ ธรรมชาติรอบตัว และเลือกทำหน่วยนม
การทำงาน
ผลงานของกลุ่ม

ข้อเสนอแนะที่อาจารย์แนะนะคือ
1.ลักษณะควรมีส่วนประกอบในนมด้วย เช่น แลคโตส วิตามิน ฯ
2.การแปรรูปอยู่ในประโยชน์อยู่แล้วและการดูแลรักษาคือการแปรรูปหรือถนอมอาหารไม่ให้เน่าเสียเหมือนกัน
3.สอนหัวข้อของประโยชน์2วัน
3.ควรเพิ่มหัวข้อ ข้อควรระวัง เช่น อย่าดื่มนมที่หมดอายุแล้ว

สาระ สิ่งที่เด็กสนใจ

สาระ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

สาระ บุคคลและสถานที่

สาระ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 

💪Teaching Techniques 💪 
การทำแผนผังที่ถูกวิธี โดยการแตกกิ่งออกไปเรื่อยๆตามสิ่งที่เชื่อมโยงกัน ทำให้เข้าใจเนื้อหาในนั้นมากขึ้น
🙇Apply 🙇 
สามารถนำไปใช้สอนได้ในอนาคต สอนในเรื่องที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก

Assessment
Self : ตอบคำถามอาจารย์ได้ ตั้งใจเรียน
Friend ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม
Teacher : อธิบายได้ชัดเจนและเข้าใจง่าย