wednesday,september 23,2019
Diary8
⇢⇢⇢The knowledge gained💧
กลุ่มที่5
นำเสนอ EF (Executive Functions) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ
ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย
1.Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ
2.Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”
3.Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ”ได้
4.Focus / Attention การใส่ใจจดจ่อมุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก
5.Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น
6.Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการเริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน
7.Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร
8.Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิดเมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ พูดเกี่ยวกับตัวเด็กเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมสิ่งที่เดก็จะเรียนรู้ได้
กลุ่มที่6
นำเสนอ EF (Executive Functions) 3-6 ปี ช่วงเวลาสำคัญที่สุดในการพัฒนา EF เด็กทุกคนเกิดมาพร้อมศักยภาพที่จะพัฒนา EF ได้ แต่จะพัฒนาได้แค่ไหน อย่างไร ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนผ่านประสบการณ์ต่างๆ ตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก และต่อไปยังวัยรุ่น
เพื่อนจัดกิจกรรมฉีกกระดาษให้มีความยาว ปัญหาที่ต้องแก้ คือฉีกกระดาษอย่างไรให้มีความยาวโดยไม่ขาดออกจากกัน และสุดท้ายมี Quizizz ให้เล่นเพื่อทบทวน การทำงานเพื่อชีวิตที่สำเร็จ ⇨ เป้าหมาย
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ สามารถจัดกิจกรรมให้เข้ากับชีวิตประจำวันของเด็กได้
กลุ่มที่7
นำเสนอ Project Approach
2. เด็กมีจิตที่ซึมซาบได้ Dr. Montessori เชื่อว่ามนุษย์เรานี้เป็นผู้ให้การศึกษาแก่ตนเอง และเปรียบจิตของเด็กเหมือนกับฟองน้ำ ซึ่งจะซึมซาบข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม เด็กใช้จิตในการหาความรู้ ซึมซาบเอาสิ่งต่างๆ เข้าไปในจิตของตนเองได้ (The Absorbent Mind) กระบวนการนี้จะเห็นได้ชัดจากการที่เด็กสามารถเรียนภาษาแม่ได้เองโดยไม่ต้องมีการสอน อย่างเป็นทางการ
3. ช่วงเวลาหลักของชีวิต คือ ช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการเรียนรู้ในระยะแรก เป็นช่วงของการพัฒนาสติปัญญา และเด็กสามารถเรียนทักษะเฉพาะอย่างได้อย่างดี ครูจะต้องช่างสังเกต และใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานี้ในการจัดการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อเด็กจะได้มีโอกาสในการเลือกกิจกรรมของแต่ละบุคคล
4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม Dr. Montessori เชื่อว่า เด็กเรียนได้ดีที่สุดในสภาพการจัดสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่างมีจุดมุ่งหมาย การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ เพื่อให้เด็กได้มีอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่ เด็กจะได้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามความคิดของตนเองบ้าง Dr. Montessori สนับสนุนการจัดห้องเรียนแบบเปิด (Open Classroom) เพื่อที่เด็กจะได้เลือกทำงานอย่างอิสระตามที่ตนเองต้องการ และเด็กจะเกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่เขาทำได้ การมีอิสระตามความคิดนี้ คือการมีอิสระภายในขอบเขตที่กำหนดให้
5. การศึกษาด้วยตนเอง เด็กสามารถเรียนได้ด้วยตนเองจากการที่เด็กมีอิสระในสิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียมเอาไว้อย่างสมบูรณ์ การมีอิสระนี้ Dr. Montessori กล่าวว่าไม่ใช่สัญลักษณ์ของเสรีภาพเท่านั้น แต่หมายถึงเส้นทางไปสู่การศึกษา เด็กมีสิทธิในการที่จะเรียนรู้ระเบียบวินัยของชีวิต โดยการมีอิสรภาพในการทำงานด้วยตนเอง ได้มีโอกาสแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้ และยังช่วยชี้ให้เห็นถึงความสามารถของมนุษย์ ในการที่จะศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง (Self or Auto-Education) ภายใต้สถานการณ์ที่กำหนดให้เรียนรู้ ซึ่งจะนำมาซึ่งความพึงพอใจในตนเองตลอดจนการให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ต่อไปด้วย
⇢⇢⇢The knowledge gained💧
กลุ่มที่5
นำเสนอ EF (Executive Functions) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ
ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย
1.Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ
2.Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”
3.Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ”ได้
4.Focus / Attention การใส่ใจจดจ่อมุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก
5.Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น
6.Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการเริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน
7.Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร
8.Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิดเมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ พูดเกี่ยวกับตัวเด็กเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมสิ่งที่เดก็จะเรียนรู้ได้
กลุ่มที่6
นำเสนอ EF (Executive Functions) 3-6 ปี ช่วงเวลาสำคัญที่สุดในการพัฒนา EF เด็กทุกคนเกิดมาพร้อมศักยภาพที่จะพัฒนา EF ได้ แต่จะพัฒนาได้แค่ไหน อย่างไร ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนผ่านประสบการณ์ต่างๆ ตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก และต่อไปยังวัยรุ่น
เพื่อนจัดกิจกรรมฉีกกระดาษให้มีความยาว ปัญหาที่ต้องแก้ คือฉีกกระดาษอย่างไรให้มีความยาวโดยไม่ขาดออกจากกัน และสุดท้ายมี Quizizz ให้เล่นเพื่อทบทวน การทำงานเพื่อชีวิตที่สำเร็จ ⇨ เป้าหมาย
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ สามารถจัดกิจกรรมให้เข้ากับชีวิตประจำวันของเด็กได้
กลุ่มที่7
นำเสนอ Project Approach
ระยะที่1 – เริ่มต้น
เด็กๆเลือกว่าจะศึกษาเรื่องอะไร โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ เด็กๆอภิปรายว่า มีความรู้เดิมอะไร เกี่ยวกับเรื่องที่เลือกแล้วบ้าง ครูช่วยให้เด็กๆบันทึกความคิดของเด็กๆ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น วาด ปั้น จำลอง ฯลฯ เด็กๆบอกข้อสงสัยที่เด็กๆมีเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆจะเรียนรู้ และครูช่วยให้เด็กๆสรุปตั้งคำถามที่เด็กๆต้องการ หาคำตอบในระหว่างการสำรวจสืบค้นครั้งนี้ และบันทึกคำถามเหล่านั้น เด็กๆพูดคุยเกี่ยวกับว่าคำตอบที่เด็กๆจะสำรวจสืบค้นได้นั้น น่าจะเป็นอะไร อย่างไร ครูช่วยเด็กๆบันทึกความคาดคะเนของเด็กๆไว้ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในภายหลัง
Project Approach ระยะที่2 – การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้
ครูช่วยเด็กๆวางแผนไปสถานที่ต่างๆ ที่เด็กๆสามารถสำรวจ สืบค้นได้ รวมถึงการจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กๆสนใจเรียนรู้ ที่จะสามารถตอบคำถามของเด็กๆได้ มาให้ความรู้กับเด็กๆ เด็กๆใช้หนังสือและคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ ในระหว่างกิจกรรมในวงกลมที่เด็กๆสามารถประชุมร่วมกัน และนำเสนอรายงานสิ่งที่เด็กๆค้นพบในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นระยะ ครูส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กๆถามคำถามและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆแต่ละคนได้ค้นพบคำตอบหรือเรียนรู้ด้วย เด็กๆวาดภาพ ถ่ายภาพ เขียนคำและป้ายต่างๆ สร้างกราฟและหรือแผนภูมิสิ่งที่เด็กๆวัดและนับ แล้วเด็กๆก็สร้างจำลองสิ่งที่เด็กๆสนใจเรียนรู้กัน เมื่อเด็กๆเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เด็กๆสามารถพิจารณาทบทวนและเพิ่มเติมหรือทำจำลองใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเดิมไปได้เรื่อยๆด้วย
Project Approach ระยะที่3 – การสรุป Project
เด็กๆอภิปรายกันถึงหลักฐานต่างๆที่เด็กๆได้สืบและค้นพบที่ช่วยให้เด็กๆตอบคำถามที่เด็กๆตั้งไว้ได้ และเด็กๆจะได้เปรียบเทียบสิ่งที่เด็กๆเรียนรู้กับความรู้เดิมของเด็กๆว่าตรงกันหรือไม่ รวมถึงเปรียบเทียบกับการคาดคะเนของเด็กๆที่ทำไว้ตั้งแต่ระยะแรกด้วย เด็กๆช่วยกันวางแผนจัดแสดงให้ผู้ปกครองและเพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆได้เห็น วิธีการเรียนรู้ กิจกรรม ผลงาน และสิ่งที่เด็กๆค้นพบเรียนรู้ เด็กๆลงมือจัดแสดงเพื่อแบ่งปันความรู้และเรื่องราวเกี่ยวกับ “ Project Approach ” ของเด็กๆ ครูจะได้ช่วยสนับสนุนส่งเสริมนักสืบรุ่นจิ๋วเหล่านี้วางแผน และดำเนินการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆทำ และค้นพบกันอย่างสนุกสนาน กระตือรือร้นและภาคภูมิใจ
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ จัดมุมต่างๆเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
กลุ่มที่8
นำเสนอ“สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี(Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) แนวคิดในเรื่องสะเต็มศึกษานั้น เป็นกระบวนการเชิงระบบแบบวิทยาศาสตร์ ที่นำมาเชื่อมโยงในกระบวนการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ผลงานหรือชิ้นงานจากการคิดค้น การแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ ซึ่งสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียน โดยนำสิ่งที่เรียนรู้ในระบบโรงเรียนไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ มีแนวคิดหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ข้อ คือ
1. ครูต้องเน้นการบูรณาการ2. ครูต้องช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาที่เรียนกับที่ได้เรียนไปแล้ว3. เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 214. ท้าทายความคิดของผู้เรียน5. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นและทำความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อที่เรียน
กลุ่มที่9
นำเสนอนวัตกรรม "มอนเตสเซอรี่ Montessori" จุดมุ่งหมาย คือ ช่วยพัฒนา หรือให้เด็กมีอิสระ ของเล่นที่ให้เด็กเล่นจะเป็นของมอนเตสเซอรี่โดยตรง การเล่นก็จะเริ่มจากซ้ายไปขวา เล่นตามลำดับขั้นตอน และมีการตรวจสอบได้ ของเล่นที่ดังของมอนเตสเซอรี่ คือ Pink Tower
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ ต้องศึกษามากกว่านี้บางขั้นตอนยังนำเสนอผิดอยู่
กลุ่มที่10
นำเสนอ ปรัชญาและหลักการของการสอนแบบมอนเตสซอรี่
1. เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือในสภาพที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ ต้องยอมรับนับถือเด็กในลักษณะเฉพาะของเด็กว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ควรจัดการศึกษาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ และความต้องการตามธรรมชาติของเขาโดยการพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก2. เด็กมีจิตที่ซึมซาบได้ Dr. Montessori เชื่อว่ามนุษย์เรานี้เป็นผู้ให้การศึกษาแก่ตนเอง และเปรียบจิตของเด็กเหมือนกับฟองน้ำ ซึ่งจะซึมซาบข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม เด็กใช้จิตในการหาความรู้ ซึมซาบเอาสิ่งต่างๆ เข้าไปในจิตของตนเองได้ (The Absorbent Mind) กระบวนการนี้จะเห็นได้ชัดจากการที่เด็กสามารถเรียนภาษาแม่ได้เองโดยไม่ต้องมีการสอน อย่างเป็นทางการ
3. ช่วงเวลาหลักของชีวิต คือ ช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการเรียนรู้ในระยะแรก เป็นช่วงของการพัฒนาสติปัญญา และเด็กสามารถเรียนทักษะเฉพาะอย่างได้อย่างดี ครูจะต้องช่างสังเกต และใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานี้ในการจัดการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อเด็กจะได้มีโอกาสในการเลือกกิจกรรมของแต่ละบุคคล
4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม Dr. Montessori เชื่อว่า เด็กเรียนได้ดีที่สุดในสภาพการจัดสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่างมีจุดมุ่งหมาย การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ เพื่อให้เด็กได้มีอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่ เด็กจะได้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามความคิดของตนเองบ้าง Dr. Montessori สนับสนุนการจัดห้องเรียนแบบเปิด (Open Classroom) เพื่อที่เด็กจะได้เลือกทำงานอย่างอิสระตามที่ตนเองต้องการ และเด็กจะเกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่เขาทำได้ การมีอิสระตามความคิดนี้ คือการมีอิสระภายในขอบเขตที่กำหนดให้
5. การศึกษาด้วยตนเอง เด็กสามารถเรียนได้ด้วยตนเองจากการที่เด็กมีอิสระในสิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียมเอาไว้อย่างสมบูรณ์ การมีอิสระนี้ Dr. Montessori กล่าวว่าไม่ใช่สัญลักษณ์ของเสรีภาพเท่านั้น แต่หมายถึงเส้นทางไปสู่การศึกษา เด็กมีสิทธิในการที่จะเรียนรู้ระเบียบวินัยของชีวิต โดยการมีอิสรภาพในการทำงานด้วยตนเอง ได้มีโอกาสแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้ และยังช่วยชี้ให้เห็นถึงความสามารถของมนุษย์ ในการที่จะศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง (Self or Auto-Education) ภายใต้สถานการณ์ที่กำหนดให้เรียนรู้ ซึ่งจะนำมาซึ่งความพึงพอใจในตนเองตลอดจนการให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ต่อไปด้วย
กลุ่มที่ไปแก้ไขและมานำเสนอในสัปดาห์นี้ นำเสนอในรูปแบบสาธิตการวางแผน PDR
💪Teaching Techniques 💪
การนำเสนอที่แตกต่างออกไปจากในเน็ตไม่ต้องเอาของเขามาทั้งหมดให้เราปรับใชกับเด็กโดยเฉพาะเรื่องการเรียนรู้ผ่านชีวิตประจำวันโดยใช้นวัตกรรมการศึกษาต่างๆที่นำเสนอยิ่งดีมาก
🙇Apply 🙇
ความคิดสร้างสรรค์ต่างๆที่จะทำให้เพื่อนๆสนุกและได้ความรู้เราควรทำออกมาให้ดี
Assessment
Self : ร่วมกิจกรรมการนำเสนอของเพื่อนๆ
Friend : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม อาสาออกมาเป็นนักเรียนให้เพื่อที่เพื่อนจะได้ทำงานได้ง่าย
Friend : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม อาสาออกมาเป็นนักเรียนให้เพื่อที่เพื่อนจะได้ทำงานได้ง่าย
Teacher : แนะนำเทคนิคการสอนสอดแทรกเข้าไปในกิจกรรมในชั้นเรียนและเน้นย้ำถึงการนำไปใช้ได้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น